กิจกรรมหอพุทธ http://mam142030.siam2web.com/

PHP (PHP Hypertext Preprocessor)

ความเป็นมา

PHP เกิดในปี 1994 โดย Rasmus Lerdorf โปรแกรมเมอร์ชาวสหรัฐอเมริกาได้คิดค้นสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเว็บส่วนตัวของเขา โดยใช้ข้อดีของภาษา C และ Perl เรียกว่า Personal Home Page และได้สร้างส่วนติดต่อกับฐานข้อมูลชื่อว่า Form Interpreter ( FI ) รวมทั้งสองส่วน เรียกว่า PHP/FI ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของ PHP มีคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเขาแล้วเกิดชอบจึงติดต่อขอเอาโค้ดไปใช้บ้าง และนำไปพัฒนาต่อ ในลักษณะของ Open Source ภายหลังมีความนิยมขึ้นเป็นอย่างมากภายใน 3 ปีมีเว็บไซต์ที่ใช้ PHP/FI ในติดต่อฐานข้อมูลและแสดงผลแบบ ไดนามิกและอื่นๆ มากกว่า 50000 ไซต์
PHP เป็นภาษาสคริปต์ที่ประมวลผลที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ แล้วส่งผลลัพธ์ไปแสดงผลที่ฝั่งไคลเอ็นต์ผ่านบราวเซอร์เช่นเดียวกับ CGI และ ASP ต่อมาเมื่อมีผู้ใช้มากขึ้นจึงมีการร้องขอให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของ PHP/FI ให้สูงขึ้น Rasmus Lerdorf ก็ได้ผู้ที่มาช่วยพัฒนาอีก 2 คนคือ Zeev Suraski และ Andi Gutmans ชาวอิสราเอล ซึ่งปรับปรุงโค้ดของ Lerdorf ใหม่โดยใช้ C++ ต่อมาก็มีเพิ่มเข้ามาอีก 3 คน คือ Stig Bakken รับผิดชอบความสามารถในการติดต่อ Oracle, Shane Caraveo รับผิดชอบดูแล PHP บน Window 9x/NT, และ Jim Winstead รับผิดชอบการตรวจ ความบกพร่องต่างๆ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น Professional Home Page
PHP3 ได้ออกสู่สายตาของนักโปรแกรมเมอร์เมื่อ มิถุนายน 1998 ที่ผ่านมาในเวอร์ชั่นนี้มีคุณสมบัติเด่นคือสนับสนุนระบบปฏิบัติการทั้ง Window 95/98/ME/NT, Linux และเว็บเซร์ฟเวอร์ อย่าง IIS, PWS, Apache, OmniHTTPd สนับสนุน ระบบฐานข้อมูลได้หลายรูปแบบเช่น SQL Server, MySQL, mSQL, Oracle, Informix, ODBC
เวอร์ชั่นล่าสุดในปัจจุบันคือ PHP4 ซึ่งได้เพิ่ม Functions การทำงานในด้านต่างๆให้มากและง่ายขึ้นโดย Zend ซึ่งมี Zeev และ Andi Gutmans ได้ร่วมก่อตั้งขึ้น ( http://www.zend.com ) ในเวอร์ชั่นนี้จะเป็น compile script ซึ่งในเวอร์ชั่นหน้านี้จะเป็น embed script interpreter ในปัจจุบันมีคนใช้ PHP สูงกว่า 5,100,000 sites แล้วทั่วโลก ผู้พัฒนาได้ตั้งชื่อของง PHP ใหม่ว่า PHP: Hypertext Preprocessor ซึ่งหมายถึงมีประสิทธิภาพระดับโปรเฟสเซอร์สำหรับไฮเปอร์เท็กซ์
ความสามารถของ PHP นั้นในความสามารถพื้นฐานที่ภาษาสคริปต์ทั่วๆไปมีนั้น PHP ก็มีความสามารถทำได้ทัดเทียมเช่นเดียวกันเช่น การรับข้อมูลจากฟอร์ม, การสร้าง Content ในลักษณะ Dynamic, รับส่ง Cookies, สร้าง, เปิด, อ่าน และปิดไฟล์ในระบบ, การรองรับระบบจัดการฐานข้อมูลมากมายดังนี้
Adabas D Ingres Oracle (OCI7 and OCI8) Dbase InterBase Ovrimos Empress FrontBase PostgreSQL FilePro (read-only) mSQL Solid Hyperwave Direct MS-SQL Sybase IBM DB2 MySQL Velocis Informix ODBC Unix dbm
แต่ตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทาง NINETO E-MAGAZINE ONLINE เลือกมาใช้ในบทความนี้คือ MySQL เหตุที่เลือกตัวนี้คือ เป็นที่นิยมกว้างขว้างและประเด็นหนึ่งที่จะต้องพิจารณาคือ Free เพราะ MySQL จัดเป็น Software ประเภท Freeware รองรับ OS ได้หลายระบบด้วยกัน ท่านสามารถดาวน์โหลดได้ที่หน้า Download ซึ่งเราได้จัดเตรียมไว้ให้แล้ว
Protocol Support ความสามารถในการรองรับโปรโตคอลหลายแบบทั้ง IMAP, SNMP, NNTP, POP3, HTTP และยังมีไลบารีสำหรับติดต่อ กับแอพพลิเคชั่นได้มากมาย มีความยืดหยุ่นสูงสามารถนำไปสร้างแอพพลิเคชั่นได้หลากหลาย และอีกข้อดีหนึ่งที่โดเด่นคือของ PHP ก็คือสามารถแทรกลงในแท็ก HTML ในตำแหน่งใดก็ได้

รูปแบบการเขียน PHP

การเขียนโค้ด เราสามารถเขียนได้จากโปรแกรม Editor ทั่วไปเช่น Notepad หรือ Editplus แน่นอนที่สะดวกที่สุดคงจะไม่พ้น Notepad เพราะแถมมากับ window อยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการความสามารถและ Options ที่เพิ่มขึ้นก็แนะนำว่าโปรแกรม Editplus ใช้ได้ดีทีเดียว
รูปแบบการเขียน PHP เขียนได้ 4 แบบดังตัวอย่าง ที่นิยมคือแบบที่ 1 และ 2 แบบที่ 3 ใช้งานคล้ายกับ Java script ส่วนแบบที่ 4 ตัว tag

* สำหรับรูปแบบที่ 4 จะใช้ได้กับ PHP 3.0.4 ขึ้นไป และจะต้องไปแก้ไฟล์ php.ini ในโฟลเดอร์ C:\WINDOWS เสียก่อนโดยให้ asp_tags มีค่าเป็น On
การเขียนสคริปต์ PHP ในรูปแบบใดก็ตามจะต้องมีเครื่องหมาย semicolon ( ; ) ลงท้ายคำสั่งเสมอเหมือนกับการเขียนภาษา C กับภาษา Perl และคำสั่งหรือฟังก์ชั่นในภาษา PHP จะเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ก็ได้ ( case-insensitive ) การจบ statement หรือสิ้นสุด script เราจะปิดท้ายสคริปต์ด้วยแท็ก ( ?> ) และคำสั่งสุดท้ายในสคริปต์นั้นจะลงท้ายด้วย semicolon ( ; ) หรือไม่ก็ได้เพราะจะถูกปิดด้วยแท็ก ( ?> ) อยู่แล้ว

Comment

การเขียนโปรแกรมที่มีความยาวและซับซ้อนมากๆอาจจะทำให้สับสนในภายหลังได้ วิธีที่นิยมกันก็คือการเขียนคำอธิบายไว้ท้ายคำสั่งนั้นๆ หรือที่เรียกกันว่า comments ใน PHP จะสามารถเขียนในรูปแบบของภาษา C, C++ และ Unix shell-style comments ได้โดยจะไม่นำมาประมวลผล จะเห็นแค่ใน souce code เท่านั้น
รูปแบบ

คำสั่งแสดงผล

เราสามารถใช้คำสั่งเพื่อแสดงผลได้ 3 แบบคือ 1. echo 2. print 3. printf

1. คำสั่ง echo จะสามารถแสดงได้หลายประเภท เช่น นี่เราลองมาดูความสามารถอีกอย่างของคำสั่ง echo กันคือความสามารถในการแยกนิพจน์ หรือค่าตัวแปรได้ โดยจะใช้เครื่องหมาย , คั่น สังเกตคำสั่ง echo " 10+20 = " , 15+15 , "" ; ผมได้ใช้เครื่องหมาย , คั้นระหว่าง " 10+20 =" และ "" ไว้เพื่อให้โปรแกรมแยกส่วนที่เราต้องการให้มันแสดงออกทางหน้าแบบธรรมดากับส่วนที่เราต้องการให้โปรแกรมทำการคำนาณให้เรานั้นคือ 15+15 เมื่อคำนวณแล้วจะได้ค่า 30 โปรแกรมจะนะค่าที่ได้จากการคำนวณมาแสดงแทน ส่วนแท็ก
และ ... นั้นเป็นแท็ก HTML ธรรมดาซึ่งผมใส่ไว้เพื่อทำให้การแสดงผลสวยงามขึ้น

2. คำสั่ง print

3. คำสั่ง printf ในการใช้คำสั่ง printf เราจะต้องทราบชนิดของข้อมูลที่เราต้องการแสดงออกมาว่าเป็นชนิดใด เราจะได้กำหนดค่าลงไปถูงต้องดังนี้ %d ตัวเลข %o เลขฐานแปด %c ข้ออักษร ( 1 ตัว ) %s ข้อความ %f ทศนิยม

String
แบ่งตามลักษณะตัวปิดแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ • single quoted • double quoted • heredoc syntax (ไม่อธิบาย)


ตัวอย่างการใช้งาน String

Number: 9
’ */ $num = 9;+ $str = "

Number: $num

"; /* This one will be ’

Number: $num

’ */ $num = 9; $str = ’

Number: $num

’; /* Get the first character of a string */ $str = ’This is a test.’; $first = $str{0}; /* Get the last character of a string. */ $str = ’This is still a test.’; $last = $str{strlen($str)-1}; ?>

Variable scope

PHP โดยส่วนใหญ่ตัวแปรจะเป็นแบบ Single scope ดังแสดงตามตัวอย่าง $a = 1; include "b.inc";

ตัวอย่าง การใช้ตัวแปร global และ local

แบบที่1 ตัวแปร a มีค่าต่างกัน $a = 1; /* global scope */ Function Test () { echo $a; /* reference to local scope variable */ } Test ();


แบบที่ 2 การใช้ตัวแปร a และ b $a = 1; $b = 2; Function Sum () { global $a, $b; $b = $a + $b; } Sum (); echo $b;


PostgreSQL ใน PHP

int pg_connect (string host, string port, string options, string tty, string dbname)
ตัวอย่าง $dbconn3 = pg_Connect ("host=sheep port=5432 dbname=mary user=lamb password=baaaa"); pg_close bool pg_close (int connection) pg_cmdtuples Returns number of affected tuples int pg_cmdtuples (int result_id) pg_exec Execute a query int pg_exec (int connection, string query) pg_result Returns values from a result identifier mixed pg_result (int result_id, int row_number, mixed fieldname) pg_freeresult Free result memory int pg_freeresult (int result_id)

ตัวแปรในภาษา PHP

สำหรับการเขียนโปรแกรมสำหรับภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง สิ่งที่จะขาดเสียมิได้คือ การกำหนดและใช้ตัวแปร (variable) ตัวแปรในภาษา PHP จะเหมือนกับในภาษา Perl คือเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย dollar ($) โดยเราไม่จำเป็นต้องกำหนดแบบของข้อมูล (data type) อย่างเจาะจงเหมือนในภาษาซี เพราะว่า ตัวแปลภาษาจะจำแนกเองโดยอัตโนมัติว่า ตัวแปรดังกล่าว ใช้ข้อมูลแบบใด ในช่วงเวลานั้นๆ เช่น ข้อความ จำนวนเต็ม จำนวนที่มีเลขจุดทศนิยมตรรก เป็นต้น


ตัวอย่าง



$datastring = "สวัสดี พ่อ แม่ พี่น้อง"; $datainteger = 1024; $datafloat = 0.707;


ถ้าเราต้องการจะแสดงค่าของตัวแปร ก็อาจจะใช้คำสั่ง echo ได้


ตัวอย่าง



echo "$datastring\n"; echo "$datainteger\n"; echo "$datafloat\n";


การใช้ตัวแปร ใน PHP

ถ้าต้องการเช็คดูว่า ตัวแปรมีข้อมูลแบบใด เราสามารถใช้คำสั่ง gettype() ได้ ค่าที่ได้จากฟังก์ชันก็จะเป็น "integer" "double" หรือ "string" เป็นต้น

mam_dow30@hotmail.com

Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 3,460 Today: 5 PageView/Month: 5

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...